วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเลือกใช้ปั๊มน้ำ












จำหน่าย ปั๊มน้ำคุณภาพ บริการส่งถึงที่
ปั๊มน้ำมัน,น้ำทะเล,ปั๊มบาดาล,ปั๊มแช่ ,ปั๊มจุ่ม,ปั๊มบ่อบำบัด,ปั๊มเคมี,ปั๊มลม,ปั๊มสระว่ายน้ำ,ปั๊มสปา,
ปั๊มจากุชชี่,ปั๊มน้ำหอยโข่ง


การเลือกใช้ปั๊มน้ำ

ในปัจจุบันปั๊มน้ำเป็นอุปกรณ์สำคัญในการจ่ายน้ำภายในบ้าน เนื่องจากแรงดันน้ำประปาไม่เพียง พอ ดังนั้นจึงมีการใช้ถังเก็บน้ำประปาไว้ แล้วใช้ปั๊มน้ำดูดน้ำจากถังเก็บน้ำจ่ายเข้าระบบ ท่อภายในบ้านอีกทอดหนึ่ง

การเลือกใช้ปั๊มน้ำที่เหมาะสมเป็น สิ่งสำคัญ เพื่อให้ ได้ปริมาณาน้ำใช้ตามต้องการในจุดต่างๆของบ้าน

การเลือก ใช้ปั๊มน้ำ

การเลือกปั๊มน้ำก็ง่ายๆ เพียงแต่ต้องรู้เขารู้เราหน่อย เริ่มจาก รู้เราก่อนคือรู้ความต้องการของเรา ว่าจะใช้น้ำมากน้อย อย่างไร และรู้เขาคือรู้ว่าปั๊มรุ่นไหนมี ความสามารถตรงกับความต้องการของเรา

1. ต้องมีข้อมูลปริมาณการใช้น้ำ ภายในบ้าน บ้านมีกี่ชั้น ห้องน้ำ ชั้นสูงสุดอยู่ชั้นไหน มีคนอยู่กี่คน ห้องน้ำกี่ห้อง โอกาสที่จะใช้ก็อกน้ำ, ห้องน้ำพร้อมกัน

โดยทั่วไปก็อกน้ำควรจะจ่าย น้ำที่อัตรา 12 ลิตร / นาที

อ่างล้าง มือควรจ่ายน้ำที่อัตรา 6 ลิตร / นาที

ฝักบัวควร จ่ายน้ำที่อัตรา 12 ลิตร / นาที

อ่างอาบ น้ำ ควรจ่ายน้ำที่อัตรา 18 ลิตร / นาที

เครื่อง ซักผ้า ควรจ่ายน้ำที่อัตรา 12 ลิตร / นาที

ส้วม ชักโครก ควรจ่ายน้ำที่อัตรา 6 ลิตร / นาที

แรงดันทั่วไปที่อุปกรณ์ประปา ต้องการจะอยู่ประมาณ 10 - 20 เมตร เพื่อให้น้ำไหลได้ในอัตราที่ต้องการ

2. เลือกปั๊มน้ำที่สามารถจ่าย น้ำได้ในปริมาณที่ต้องการ ในระดับแรงดันที่ต้องการ โดยคำนึงถึงช่วงเวลาที่ใช้น้ำพร้อมกันสูงสุด เช่นช่วงเช้าที่ห้องน้ำเต็มทุก ห้อง ต้องเปิดน้ำจุดไหนบ้าง ใช้น้ำ ทั้งหมดกี่ลิตร/นาทีในช่วงนั้น( ดูราย ละเอียดปั๊มใน รู้จักปั๊มน้ำ)

แรงดันที่ต้องการหาจากแรงดัน ที่อุปกรณ์ต้องการ + ความสูง ของอุปกรณ์วัดจากปั๊มน้ำ + แรงเสียดทานในท่อ(ยิ่งท่อเล็กแรงเสียดทานมาก ท่อใหญ่แรงเสียดทานน้อย)

รู้จัก ปั๊มน้ำ

ปั๊มน้ำเป็นอุปกรณ์เพิ่มแรงดันน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ทำหน้าที่เป็นต้นกำลังหมุนส่งกำลังให้ปั๊มน้ำทำงาน เพิ่มแรงดันให้น้ำและส่งน้ำ ไปตามท่อ

ปั๊มน้ำในบ้านโดยทั่วไปแบ่งเป็น สองกลุ่มใหญ่ๆ

1. ปั๊มน้ำแบบลูกสูบ ทำงานด้วยการชักลูกสูบเลื่อนไป-มา และมีวาล์วเปิด-ปิดน้ำเข้า-ออก จากลูกสูบ เป็นการเพิ่มแรงดันให้น้ำโดยตรง เป็นที่นิยมใช้เมื่อหลายปีที่แล้ว ปัจจุบันมีใช้น้อยมาก มีข้อดีคือได้แรงดันน้ำสูง แต่มีข้อเสียที่ปริมาณน้ำน้อย และมีการสึกหรอมากเพราะมีชิ้นส่วนเคลื่อนที่มาก

2. ปั๊มน้ำแบบใบพัด ทำงานด้วยการหมุนของใบพัดในเสื้อ ปั๊มที่ได้รับการออกแบบมาเฉพาะ ทำให้เกิดแรงดันในเสื้อปั๊ม จ่ายน้ำไปตามท่อได้ ส่วนใหญ่มีท่อดูดทางด้านหน้า ตรงกลางของปั๊ม และมีท่อ ออกด้านข้างในแนวเส้นสัมผัสกับตัวปั๊ม มีข้อดีคือขนาดเล็ก หลักการทำงานง่าย ชิ้นส่วนไม่มาก จ่ายน้ำได้ปริมาณมาก สร้างแรงดันน้ำได้มากพอควร ถ้าต้องการแรงดันสูงสามารถนำปั๊มมา ต่อกันเป็นแบบมัลติสเตทได้ ปัจจุบัน นิยมใช้ปั๊มน้ำแบบใบพัดเป็นปั๊มน้ำภายในบ้านมาก ปั๊มแบบใบพัดมีชื่อเรียกต่างๆกัน ตามลักษณะรูปร่างกละการใช้งาน เช่น ปั๊มบ้าน, ปั๊มหอย โข่ง , ปั๊มไดโว่

ขนาดของ ปั๊มน้ำ

โดยทั่วไปจะระบุขนาดของปั๊ม น้ำด้วยกำลังหรือขนาดของมอเตอร์ที่ใช้หมุนปั๊ม เช่น ปั๊มน้ำขนาด 200 วัตต์ , ปั๊มน้ำขนาด 400 วัตต์ ซึ่งใช้เลือกปั๊มได้เพียงคร่าวๆ เท่านั้น เพราะการ เลือกใช้ปั๊มต้องดูว่าปั๊มสามารถจ่ายปริมาณน้ำได้มากแค่ไหนเพียงพอกับการใช้ งานหรือไม่ และที่แรง ดันน้ำที่ต้องการหรือไม่

ปริมาณการจ่ายน้ำ แสดงเป็นปริมาณในหน่วยปริมาตรน้ำต่อเวลา หมายถึงปั๊มสามารถจ่ายน้ำได้มากเท่าไหร่ในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 150 ลิตร/นาที (l/min) หมายถึง ปั๊มน้ำสามารถจ่ายน้ำได้ปริมาณ 150 ลิตรใน เวลา 1 นาที

แรงดันน้ำ แสดงเป็นความสูงของน้ำ (เมตร) (ที่จริง หน่วยของแรงดันน้ำเป็น ขนาดของแรงต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ ซึ่งปรับเทียบให้เป็นความสูงของ น้ำเพื่อให้ง่ายในการใช้งาน ความสูงน้ำ 10 เมตร ประมาณ แรงดัน = 1 bar หรือ ประมาณ 1 kg/cm2) ปั๊มทำงาน จ่ายน้ำได้ที่ความสูงปลายท่อสูงเท่าไหร่ เช่น 10 เมตร (m) หมายถึง ปั๊มจ่ายน้ำได้เมื่อความสูงปลาย ท่อสูง 10 เมตร

ป้าย รายละเอียดข้างปั๊ม (Name Plate)

ที่ด้านข้างของปั๊มส่วนใหญ่ จะแสดงรายละเอียดต่างๆของปั๊มไว้คร่าวๆ

- ขนาดมอเตอร์ เช่น 220 V. (Volt แรงดันไฟฟ้าที่จ่ายเข้า มอเตอร์)

50 Hz. (Hertz ความถี่ ไฟฟ้าที่มอเตอร์ใช้ 50 เฮิร์ท)

200 W. (Watt กำลัง ไฟฟ้าที่มอเตอร์ใช้ 200 วัตต์)

1.2 A. ( Amp กระแส ไฟฟ้า ที่มอเตอร์ใช้ 1.2 แอมป์)

รายละเอียดของมอเตอร์นี้ ไม่ได้ให้ข้อมูลโดยตรงเกี่ยว กับความสามารถในการจ่ายน้ำของปั๊มน้ำ แต่ก็ประมาณคร่าวๆได้ ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับการใช้งาน

- ความสามารถของปั๊ม เช่น

Q 0.6 - 2.4 m3 / h หมายถึง อัตราการจ่ายน้ำของปั๊ม ซึ่งสามารถจ่ายน้ำได้ปริมาณ 0.6 ถึง 2.4 ลูกบาศก์เมตร (m3) ในเวลา 1 ชั่วโมง (h) ซึ่งอัตราการจ่ายน้ำนี้จะสัมพันธ์ กับความสูงของปลายท่อหรือก๊อกที่ปล่อยน้ำออก

H 1 - 8 m หมายถึง ปั๊มสามารถสร้างแรงดันน้ำ เทียบเป็นความสูงของน้ำที่ปั๊มสามารถจ่ายน้ำได้ ซึ่งสามารถจ่ายน้ำได้ที่ความสูงของ ปลายท่อสูง 1 ถึง 8 เมตร (m)

อัตราการไหลของน้ำและแรงดัน น้ำ มีความ สัมพันธ์กันโดยที่แรงดันสูงจะจ่ายน้ำได้ปริมาณน้อย ที่แรงดันต่ำจะจ่ายน้ำได้ปริมาณมาก ดังตัวอย่างปั๊มข้างบน

ถ้าเปิด ก๊อกจ่ายน้ำออกที่ความสูง 1 เมตร จะจ่ายน้ำได้ในอัตรา 24 ลูกบาศก์ เมตรต่อชั่วโมง และถ้าเปิดก๊อกจ่ายน้ำที่ความสูง 8 เมตร จะจ่ายน้ำได้ในอัตรา 0.6 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ดังนั้นที่ก๊อกน้ำชั้นบนน้ำจะไหล เบากว่าชั้นล่าง

ปั๊มราคา ถูก บางยี่ห้อ บอกรายละเอียดความสามารถของปั๊มไม่ครบถ้วน ทำให้เกิดความเข้าใจผิด คือบอกเฉพาะค่าสูงสุดที่ปั๊ม ทำงานได้ เช่น

Q MAX 3 m3 / h

h MAX 12 m

แหมเห็น รายละเอียดแบบนี้พาให้เข้าใจว่าปั๊มนี้สามารถจ่ายน้ำได้ในอัตราการไหล 3 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ที่ความสูง(แรงดัน) 12 เมตร อย่างนี้บ้านสี่ชั้นสูง 10 เมตร ก็ใช้ได้สบายสิ... เข้าใจผิด นะ (ไม่รู้ว่าคนทำปั๊มตั้งใจให้ เข้าใจผิดหรือเปล่า)

ที่จริง เป็นว่าปั๊มนี้สามารถจ่ายน้ำได้อัตราการไหลสูงสุด 3 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ซึ่งโดยทั่วไปจะเกิดที่ความ สูงปลายท่อต่ำมากหรือที่หน้าปั๊มแค่นั้นเอง และสามารถส่งน้ำได้สูงสุด 12 เมตร โดยทั่ว ไปที่แรงดันสูงสุดอัตราการไหลต่ำมากแทบจะไม่ไหล พอเราเอาปั๊มนี้ไปติดตั้ง พอเปิดก๊อกที่ชั้นสี่ สูง 10 เมตร น้ำก็ไหลจิ๊ดนึงพอให้รู้ว่ามีน้ำ ไหลแต่ไม่พอใช้งาน....

- กราฟของปั๊ม

ปั๊มยี่ห้อดีๆ ส่วนใหญ่แสดงความสามารถในการทำงานของปั๊มด้วยกราฟ โดยแกนตั้งเป็นแรงดันน้ำ แกนนอนเป็นอัตราการจ่ายน้ำ หรือกลับกันก็ได้ และมีเส้นโค้งบนกราฟ แสดงว่าที่ตำแหน่งความสูงต่างๆนั้น ปั๊มจะสามารถจ่ายน้ำได้ในอัตราการไหลเท่าไหร่ ซึ่งจะเลือกได้ละเอียด เหมาะสม มากขึ้น ถ้าเป็นปั๊มน้ำสำหรับอุตสาหกรรมจะมีเส้นประสิทธิภาพอยู่ในกราฟด้วย เพี่อจะเลือกใช้งานปั๊มใน ช่วงที่ประสิทธิภาพสูงสุด



การเลือกใช้ปั๊มนั้นควร เลือกใช้ในช่วงกลางๆของความสามารถของปั๊ม ไม่ควรเลือกใช้ที่ความสามารถสูงสุดที่ปั๊มทำได้ ซึ่งจะให้ประสิทธิภาพดีกว่าช่วง ปลาย และถ้าคน ทำปั๊มให้ข้อมูลเกินจริง ปั๊มก็ยังรองรับความต้องการของเราได้อยู่

- หน่วยของค่าตัวเลขต่างๆ ที่ใช้ในปั๊มน้ำ

-- แรงดัน โดยปกติหน่วยของแรงดันจะบอกเป็น ขนาดของแรงที่กระทำต่อหนึ่งหน่วยของพื้นที่ เช่น

แรงดันลมที่เราเติมยางรถยนต์ แรงดัน 30 ปอนด์/ตารางนิ้ว (lbs/in2) หมายถึง แรงดันที่มีขนาดแรงกด 30 ปอนด์บนพื้นที่ขนาด 1 ตารางนิ้ว (หน่วยวัดแบบอังกฤษ)

แรงดัน 2 กิโลกรัม/ตารางเซ็นติเมตร (kgs/cm2) หมายถึง แรงดันที่มีขนาดแรงกด 2 กิโลกรัมบนพื้นที่ 1 ตารางเซนติเมตร (หน่วยวัดแบบเมตริก)

ที่หน่วยมีหลายแบบเนื่องจาก ในโลกมีมาตราของหน่วยต่างๆหลายมาตรฐาน อย่างของไทยก็มีหน่วยวัดความยาว และน้ำหนักของไทย แต่ไม่นิยมใช้

ในการบอกขนาดแรงดันของปั๊ม นิยมบอกขนาดแรงดันเป็นความสูงของน้ำ โดยสามารถประมาณค่าได้ดังข้างล่าง

ความสูง น้ำ 10 เมตร

แรงดัน ประมาณ
1 kgs/cm2
14.7 lbs/in2
1 bar

-- อัตราการ ไหล หรือปริมาณการจ่ายน้ำ โดยปกติจะบอกเป็นหน่วยของปริมาตรต่อหนึ่งหน่วยเวลา เช่น

อัตราการ ไหล 1 ลูกบาศก์ เมตรต่อชั่วโมง (m3/h) หมายถึง น้ำไหลได้ปริมาตร 1 ลูกบาศก์ เมตรในเวลา 1 ชั่วโมง

อัตราการ ไหล 50 ลิตรต่อ นาที (l/min) หมายถึง น้ำไหลได้ปริมาตร 50 ลิตรใน เวลา 1 นาที

การติด ตั้งปั๊มน้ำ

เมื่อเลือกขนาดปั๊มน้ำที่ ต้องการได้แล้ว ก็ต้อง พิจารณาที่จะติดตั้งให้เหมาะสม เพื่อ ความสะดวก ปลอดภัย และทนทาน

- ควรติด ตั้งปั๊มในที่ร่ม กันแดด กันฝน อาจทำหลังคา หรือกล่องใหญ่ๆคลุม แบบบ้านหมาก็ได้ ต้องให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และยกออกได้ ตรวจซ่อมปั๊มได้ง่าย แม้ว่าปั๊มส่วนใหญ่จะออกแบบมาให้ ติดตั้งภายนอกได้ แต่ปั๊ม ที่อยู่ในที่ร่มจะทนกว่ามาก และปลอดภัยกว่ามากด้วย โดยเฉพาะปั๊มที่มีกล่องควบคุม แบบอิเลคทรอนิคติดที่ตัวปั๊ม

- ควรติดตั้งปั๊มบนฐานรอง ให้ปั๊มสูงจากพื้นเล็กน้อย น้ำไม่ท่วมขัง ปั๊มจะทนมากขึ้น ไม่เป็นสนิม และปลอดภัย ลดโอกาสไฟฟ้ารั่ว

- ติดตั้งปั๊มห่างจากผนัง อย่างน้อย 10 เซนติเมตร ประมาณ 1 ฝ่ามือ เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ปั๊มจะได้ไม่ร้อนมากขณะทำงาน ช่วยให้ ปั๊มทนขึ้นอีกแล้ว

- ทั่วไปปั๊มจะมีใบพัดระบาย ความร้อนอยู่ด้านท้ายของปั๊ม ทำหน้าที่หมุนดูดอากาศผ่านด้านข้างตัวปั๊มเพื่อระบายความ ร้อน ควรติด ตั้งในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ควรคอยตรวจดูอย่าให้มีใบไม้ เศษกระดาษ ถุงพลาสติก ติด ขวางทางระบายความร้อนของปั๊ม

- การติดตั้งท่อน้ำกับตัวปั๊ม ควรติดตั้งให้ได้ระดับ และได้ แนวพอดีกับแนวเกลียวหรือข้อต่อของปั๊ม อย่าให้งัด งอ หรือไม่ได้แนว ซึ่งอาจทำให้ ท่อแตกร้าว หรือตัวปั๊มแตกร้าว หรือเกิดรอยรั่วได้ง่าย เนื่องจากขณะที่ปั๊มน้ำทำงานจะมีการสั่นเล็กน้อย ถ้าติดตั้งท่อไม่ดี อาจทำให้ ส่วนที่งัดเสียหายได้ง่าย

- การติดตั้งท่อควรระวังอย่า ให้มีสิ่งสกปรก เศษวัสดุ เศษท่อ พี.วี.ซี.(ท่อพี.วี.ซี.ควรตัดด้วยกรรไกรตัดท่อพี.วี.ซี. ซึ่งให้รอยตัดที่เรียบ ไม่มีเศษพลาสติก) เศษเกลียว ท่อ เทปพันเกลียว เข้าไปในท่อ ซึ่งอาจ ทำให้เกิดการติดขัดใบพัดปั๊ม ติดขัดที่ลูกลอยหรือวาวล์ว ต่างๆในระบบน้ำ

- ท่อดูดและท่อจ่ายน้ำของปั๊ม ไม่ควรเล็กกว่าขนาดของจุดต่อท่อของปั๊ม การใช้ท่อเล็กจะทำให้ประสิทธิภาพของปั๊มไม่ดี ไม่สามารถทำงานได้ดีเท่าที่ ระบุในสเปค

- ไม่ควรต่อปั๊มดุดน้ำโดยตรง จากท่อประปา เนื่อง จากจะทำให้ดูดสิ่งสกปรกในท่อประปาเข้ามาโดยตรว ถ้าท่อประปารั่วก็จะดูดน้ำสกปรก หรืออากาศเข้ามา และผิดระเบียบการใช้น้ำของการประปา ควรต่อท่อประปาเข้าถังเก็บน้ำแล้ว ใช้ปั๊มดูดน้ำจากถังเก็บจ่ายเข้าบ้าน

- การต่อสายไฟฟ้าเข้ากับปั๊ม

-- ควรเลือก ขนาดสายที่สามารถรับกระแสไฟฟ้าที่ปั๊มใช้ได้เพียงพอ ถ้าใช้สายเล็กจะทำให้สายร้อนและ ละลายได้

-- ควรติด ตั้งสายไฟที่จุดต่อสายไฟในตัวปั๊ม ไม่ควรใช้การเสียบปลั๊ก หรือตัดปลายปลั๊กแล้วต่อสาย สายไฟไม่ควรมีจุดตัดต่อที่ กลางสาย

-- ควรมีชุด เบรกเกอร์ควบคุมปั๊มต่างหาก 1 ชุด เพื่อความปลอดภัยและความ สะดวกในการซ่อม

-- ถ้าต้อง เดินสายไฟฟ้านอกอาคารไปยังปั๊ม ควรเดินสายไฟโดยการร้อยในท่อพี.วี.ซี. สีเหลือง ซึ่งใช้สำหรับเดินสายไฟนอกอาคาร

- ควรทำงานติดตั้งด้วยความ ละเอียด เรียบร้อย โดยใช้ ช่างที่มีความรู้โดยตรง หรือศึกษาข้อมูลก่อนทำงานติดตั้ง การติดตั้งต่อท่อน้ำ ต่อไฟให้ ปั๊มน้ำทำงานนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่การติดตั้งให้ดี ปลอดภัย เรียบร้อย ต้องใช้ความรู้และความชำนาญ พอสมควร

- การติดตั้ง - ซ่อม ในส่วนที่เกี่ยวกับระบบไฟฟฟ้า ควรทำโดยช่างที่มีความรู้ ความชำนาญโดยตรง และตัดไฟฟ้าก่อนทำการซ่อม-ติดตั้ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น