วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การวางระบบสปริงเกอร์




ขั้นตอนวางแผนติดตั้งสปริงเกอร์

1…..ลักษณะพื้นที่สวน ...... ลาดเอียง หรือ พื้นราบ......ความกว้างเปรียบเทียบกับความยาว ลักษณะพื้นที่ทั้ง 2 แบบมีผลกับแรงส่งน้ำของปั๊ม

2...... เลือกปั๊ม ประเภทส่งน้ำทางราบหรือส่งน้ำขึ้นลาด ถ้าใช้ผิดประเภทจะทำให้ปั๊มดันน้ำไม่ไป

3…. แหล่งน้ำควรอยู่ใกล้ปั๊มมากที่สุด เพื่อประหยัดแรงดูดน้ำแล้วเก็บแรงไว้ใช้ดันน้ำ

4.......เลือกหัว สปริงเกอร์ให้เหมาะกับต้นไม้ กล่าวคือ หัวสปริงเกอร์สำหรับให้ทางใบควรพ่นน้ำออกมาเป็นละอองกับเม็ดน้ำ 1:1 หัวแบบนี้นอกจากมีละอองน้ำปลิวลมฟุ้งลงสู่ใต้ใบแล้วยังปลิวกระจายไปถึงต้น ข้างเคียงได้อีกด้วย ที่สำคัญก็คือ การอุดต้นเกิดขึ้นน้อยมาก ส่วนหัวสปริงเกอร์สำหรับให้ทางดินควรเลือกแบบเม็ดน้ำขนาดใหญ่เพื่อให้ได้ ปริมาณน้ำมากๆ/ต้นด้วยระยะเวลาอันสั้น

5......เทคนิคทดหรือลดขนาด ท่อ ตั้งแต่ตัวปั๊มไปถึงหัวสปริงเกอร์เพื่อให้เกิดแรงดันในท่อ จะส่งผลให้แรงดันน้ำสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง

6...... ท่อน้ำกับเครื่องตัดหญ้าเป็นคูอริกัน ให้พิจารณาวางท่อแบบวางบนพื้นหรือฝังดิน การวางท่อแบบฝังดินสิ้นเปลืองแรงงานตอนวาง แต่ยุ่งยากในการซ่อมเพราะต้องขุดท่อนั้นขึ้นมาก่อนจึงซ่อมได้ แต่หากวางบนพี้นซ่อมง่ายแต่โอกาสเสียหายจากใบมีดเครื่องตัดหญ้าค่อนข้างสูง

7.....ออกแบบวางท่อให้เป็นระเบียบ สวยงาม สะดวกต่อการใช้งาน ตั้งแต่แรก เพราะถ้าวางไปแล้วแก้ไขภายหลังจะยุ่งยากสิ้นเปลืองมาก

8...... ใช้ท่อยี่ห้อเดียวกันและขนาดเดียวกันสำหรับแต่ละช่วงทั้งสวน เพราะท่อต่างยี่ห้อจะมีขนาดต่างกัน บางครั้งต่างยี่ห้อต่อกันไม่ได้ด้วย .......เลือกใช้อุปกรณ์ประกอบดีๆ โดยเฉพาะวาวล์ แม้จะราคาแพงแต่คุ้มค่าระยะยาว

9.....อ่านทางเดินน้ำให้เข้าใจ เมื่อมีปัญหาจะสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง.......การจ้างแรงงาน ๆ ต้องฟังคำสั่งเรา เพราะเราทำตามแผนที่วางไว้ ในอนาคตมีปัญหาต้อง ซ่อม/แก้ เราจะสามารถสั่งการได้......การว่าจ้างให้บริษัทหรือช่างทั่วไปมาติดตั้ง ให้ ในอนาคตเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น การติดต่อให้มาซ่อมยุ่งยากและสิ้นเปลืองมาก ถึงขนาดมะเร็งกินอารมณ์เลยเชียวแหละ

10.....ฝึกวิธีซ่อมท่อเก่า หรือท่อชำรุดให้ชำนาญ เพื่อประหยัดไม่ต้องซื้อใหม่ทุกครั้ง

11..... เทคนิคการติดตั้งของลุงคิม คือ “ยาวตัด – สั้นต่อ – ไม่พอซื้อ – ไม่ดีรื้อทำใหม่”



ประโยชน์ของสปริงเกอร์ :


1...... ให้น้ำเปล่า. น้ำ + ปุ๋ยทางใบ + ฮอร์โมน. น้ำ + สารสกัดสมุนไพร + สารเคมี. น้ำ + ปุ๋ยทางดิน. ได้ตามสั่ง

2...... ทำงานได้ทุกเวลาที่ต้องการ เช่น........ เช้ามืด (ชะล้างเชื้อราน้ำค้าง. ราแป้ง. ราสนิม) ......... สาย (ปากใบเปิด ให้ปุ๋ยทางใบ) ....... เที่ยง(กำจัดเพลี้ยไฟ. ไร.) ......... บ่าย (สร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ) ....... ค่ำ (ขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่) ........ ก่อนฝนตก (กดใบอ่อนสู้ฝน) ........ หลังฝนตก (กดใบอ่อนสู้ฝนและชะล้างเชื้อแอนแทร็คโนส) ด้วยแรงงานเพียง 1 คน

3....... ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเนื้องานต่อไม้ผลทุกต้นเต็มที่ เพราะทำงานทันเวลา เช่น ให้ปุ๋ยทางใบช่วงที่ปากใบของทุกต้นเปิดพอดี .......... ล้างน้ำค้างหรือล้างน้ำฝนได้ทันก่อนที่น้ำค้างจะแห้ง (เมื่อนำค้างแห้ง เชื้อราน้ำค้าง. ราแป้ง. ราสนิม. จะซึมแทรกเข้าสู่ต้น หรือเมื่อน้ำฝนแห้ง เชื้อแอนแทร็คโนส. ก็จะซึมแทรกเข้าสู่ต้น.....คราวนี้แหละ เดือดร้อนต้องใช้สารเคมีประเภทดูดซึม)

4.......สปริงเกอร์ไม่อู้งาน แม้คนงานจะขี้เกียจหรือเกี่ยงงานสักเพียงใด ตรงกันข้าม แรงงานชอบเพราะไม่เหนื่อย

5...... อายุใช้งานนานนับ 10 – 20 ปี หรือนานกว่า

6…….สปริงเกอร์ทำงานได้ทุกอย่าง ยกเว้นตัดแต่งกิ่ง ห่อผล




ประสบการณ์ตรง :


- ทั่วๆไป ไม้ผล 100 ต้น ฉีดพ่นด้วยสายยางลากทีละต้น ใช้เวลาต้นละ 5 นาที จะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 500 นาที. ด้วยแรงงาน 2 คน หรือถังสะพายหลังโยกฉีดพ่นทีละต้น ใช้เวลาต้นละ 10 นาที จะต้องใช้เวลา 1,000 นาที ด้วยแรงงาน 1 คน.......ที่ไร่กล้อมแกล้มใช้สปริงเกอร์ ปั๊มไฟฟ้า 220 โวล์ท 3 แรงม้า ไม้ผล 100 ต้น แบ่งเป็น 2 โซนๆละ 5 นาที เมื่อรวม 100 ต้นจะใช้เวลา 10 นาที ด้วยแรงงาน 1 คน

- แปลงหน่อไม้ฝรั่ง 30 ไร่ สวนยกร่องน้ำหล่อ รดน้ำด้วยเรือปากเป็ด 2 ลำ คนงาน 2 คนๆลำ ทั้งสองคนทำงานรอบแรก 8 โมงเช้าถึงเที่ยง ต่อรอบสอง บ่ายโมงถึงบ่าย 4 โมงเย็น ทุกวันไม่ขาดไม่อู้ สามารถให้น้ำหน่อไม้ฝรั่งได้วันเว้นวัน (คนทำงานทุกวัน แต่หน่อไม้ฝรั่งได้น้ำวันเว้นวัน) วันที่ไม่ได้ให้น้ำก็ต้องให้สารเคมีฆ่าแมลง นั่นคือ คนงาน 2 คนต้องทำงานทุกวันไม่มีวันเว้น........ภายหลังเจ้าของตัดสินใจติดสปริง เกอร์ เนื้อที่ 30 ไร่ แบ่งเป็น 6 โซนๆละ 5 ไร่ ใช้เครื่องรถยนต์ 4 สูบ เป็นเครื่องต้นกำลัง ใช้เวลาโซนละ 5 นาที เบ็ดเสร็จใช้เวลา 30 นาที ด้วยแรงงานเพียง 1 คน นอกจากให้น้ำเปล่าแล้ว ยังสามารถให้สารเคมีฆ่าแมลงได้อีกด้วยเวลาและแรงงานเท่ากัน ของแถมคือ ให้คนงานทั้ง 2 คนไปทำงานอื่น ทำให้ได้เนื้องานเพิ่มขึ้น

- สวนส้มเขียวหวาน 100 ไร่ สวนยกร่องน้ำหล่อ รดน้ำด้วยเรือปากเป็ด 2 ลำ คนงาน 2 คนๆลำ ทั้งสองคนทำงานรอบแรก 8 โมงเช้าถึงเที่ยง ต่อรอบสอง บ่ายโมงถึงบ่าย 4 โมงเย็น ทุกวันไม่ขาดไม่อู้ กว่าจะครบรอบต้องใช้เวลา 7 วัน จึงเท่ากับใน 1 อาทิตย์ คนทำงานทุกวัน แต่ต้นส้มได้น้ำเพียงวันเดียว

- รถฉีดพ่นแบบแอร์บลาสส์ (เครื่องแอร์บลาสส์ + แทร็คเตอร์) คันละ 1 ล้าน ทำงานได้เฉพาะกลางวัน ดินแห้ง ทำงานกลางคืนไม่ได้ หรือหลังฝนหยุดใหม่ๆก็วิ่งเข้าไปทำงานในสวนไม่ได้เพราะดินอ่อน

ความสูงของต้นไม้ผลแต่ละต้นก็เป็นปัญหาต่อความแรงของน้ำที่พ่นออกมาจากหัว สปริงเกอร์เหมือนกัน

ประสบการณ์ตรงที่แก้ปัญหานี้ คือ.....
จาก ท่อวิ่งไปบนพื้นผ่านโคนต้นแต่ละต้นตลอดแถว เป็นท่อขนาด 1 นิ้ว......จากท่อบนพื้น 1 นิ้ว ต่อท่อตั้งขึ้นกลางทรงพุ่ม เป็นท่อขนาด 1/4 นิ้ว (4 หุน) ที่ปลายท่อตั้งก็ติดหัวสปริงเกอร์เข้าไป.....หัวสปริงเกอร์ควรสูงกว่าทรง พุ่ม 30-50 ซม. จะช่วยให้น้ำกระจายทั่วทรงพุ่มดี

ปัญหาอยู่ที่ "ท่อตั้ง" กล่าวคือ ถ้าความสูง (ยาว) ไม่เท่ากัน ท่อที่เตี้ยกว่าจะพ่นน้ำได้แรงกว่าท่อที่สูงกว่า หรือท่อที่สูงกว่าจะพ่นน้ำได้ค่อยกว่าท่อที่เตี้ยกว่า

ความสูงของท่อ ตั้ง คือ ระยะทางวิ่งของน้ำ ถ้าปรับให้ท่อตั้งทุกตัวในโซนเดียวกันสูงเท่ากันได้ทั้งหมด แรงดันน้ำที่ออกหัวสปริงเกอร์ก็จะเท่ากันทุกหัว นอกจากนี้ยังสามารถ ลด-เพิ่ม รัศมีพ่นน้ำของแต่ละหัว (1 หัว/1 ต้น/รัศมีทรงพุ่ม 4 ม.) จากรัศมีพ่นน้ำ 4 ม. ลดลงมาเป็น 3 ม. 2 ม. 1 ม. ได้เท่ากันทุกหัวได้ด้วย ถ้าหัวไหนพ่นน้ำได้รัศมีน้อยกว่าหัวอื่นๆ แสดงว่าหัวนั้น "เสีย" ก็ให้เปลี่ยน (ราคาหัวสปริงเกอร์ที่ใช้ หัวละ 2 บาท).......แนวทางแก้ปัญหานี้ ให้ยึดต้นสูงเป็นหลัก แล้ว ปรับ/แก้ ต้นเตี้ยตามต้นสูง

ปกติลุงคิมใช้ท่อ พีวีซี. ขนาด 1/4 นิ้วเป็นท่อตั้งขึ้นเหนือทรงพุ่มสำหรับต้นยสูงปกติในโซน กรณีต้นที่เตี้ยกว่าต้นอื่นในโซนเดียวกันนั้น แก้ไขโดย ใช้ท่ออ่อน (พีอี.) ขนาด 1/4 นิ้ว ตัดให้ยาวเท่ากับท่อ พีวีซี. ท่อ พีอี.ส่วนโคนให้ม้วนไว้ที่โคนต้น แล้วจัดส่วนปลายท่อพุ่งขึ้นไปที่เหนือยอดทรงพุ่ม......แบบนี้ทำให้ระยะทาง วิ่งน้ำ ทั้งท่อที่ตั้งตรง และท่อที่ส่วนโคนม้วนอยู่โคนต้นแล้วมีส่วนปลายพุ่งขึ้นเหนือทรงพุ่ม มีความย่าวเท่ากัน

ในความเป็นจริง ถ้าต้นไม้แต่ละต้นสูงต่างกัน 1-2-3 ม. สามารถใช้ความสูงท่อตั้งที่สูงเท่ากันทั้งหมดได้ แม้ว่ารัศมีพ่นน้ำของต้นสูงจะพอดี (รัศมี 4 ม.) แต่ต้นเตี้ยจะเกินจนออกนอกทรงพุ่มก็ตาม ส่วนของน้ำที่ออกนอกทรงพุ่มของต้นเตี้ยก็ยังมีประโยชน์ต่อต้นสูง เพราะอยู่ในแปลงหรือโซนเดียวกันอยู่แล้ว



แนวคิดการใช้ท่อ พีอี. สีดำเป็นท่อตั้งจากโคนต้นสู่เหนือทรงพุ่ม ตรงกับแนวคิดลุงคิมเป๊ะๆ ตั้งใจจะทำแต่รอให้ต้นโตและสูงกว่านี้อีกนิด ....... เราใช้ พีอี. สีดำ ต่อจากท่อที่พื้นราบโคนต้น พุ่งแนบลำต้น เลี้ยวไปเลี้ยวมาตามลักษณะทรงพุ่มของแต่ละต้นได้ ข้อดีก็คือ มองไม่เห็นช่วงที่ท่อวิ่งขึ้น จะเห็นก็แต่ส่วนปลายติดหัวสปริงเกอร์เหนือทรงพุ่มเท่านั้น.......ที่ไร่ กล้อมแกล้มวันนี้ ถ้าสังเกตุดีจะเห็นความ "ไม่เป็นระเบียบ" ของท่อตั้งของแต้ละต้น มีทุกต้นระเกะระกะเต็มไปหมด ปัญหาท่อตั้งระเกะระกะนี้ลุงคิมเห็นตั้งแต่แรกแล้ว แต่ตอนนั้นยังทำอะไรไม่ได้ เนื่องจากต้นไม้ยังเล็ก เพิ่งปลูกใหม่

และ นี่คือ "จุดหนึ่ง" ที่บอกกับคุณอ้อ. ให้พิจารณาวางแผนตั้งแต่แรก เมื่อไม้ทุกต้นโตเต็มพิกัดแล้ว สามารถทำตามแผนได้ทุกอย่าง

ท่อตั้ง พีอี.สีดำ แนะนำให้ใช้ท่อทึบแสง (ม้วน/ดัดยาก) จะดีกว่า ถ้าใช้ท่อพลาสติกใส (ม้วน/ดัดง่าย) แสงผ่านได้ ภายในท่อจะเกิดตะไคร่ สร้างปัญหาให้กับหัวสปริงเกอร์อุดตันอีก

บทความจากลุงคิมสุดหล่อใจดี


แหล่งที่มา
รายละเอียดเพิ่มเติม สปริงเกอร์ไทยแลนด์
สนับสนุนโดย SprinklerThailand
ปั๊มน้ำคุณภาพราคาถูก

4 ความคิดเห็น:

  1. เยี่ยมเลยอยากปรึกษาจังเลยครับ

    ตอบลบ
  2. ขอดูรูปตัวอย่างหน่อยครับ

    ตอบลบ
  3. อยากไปสวนลุง อยากมีคนงานที่สั่งการได้ อยากปรึกษาลุง

    ตอบลบ